เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [7. ลักขณสูตร]
15-16. ลักษณะพระวรกายเป็นปริมณฑลดุจปริมณฑลแห่งต้นไทร

เพราะกุศลกรรมนั้น พระองค์จึงเข้าไปสู่โลกทิพย์
เสวยความสุขและสมบัติเป็นที่เพลิดเพลินและยินดี
จุติจากเทวโลกแล้วเสด็จมาในโลกนี้อีก
ได้องคาพยพ คือ พระคุยหฐาน
ที่ควรปกปิดด้วยผ้า เร้นอยู่ในฝัก
มหาบุรุษเช่นนั้นมีพระโอรสมาก
พระโอรสของพระองค์มากกว่า 1,000 องค์
เป็นผู้แกล้วกล้า เป็นวีรบุรุษ สามารถให้ศัตรูพ่ายไป
ให้ปีติเกิด และทูลถ้อยคำน่ารัก
แก่มหาบุรุษที่ยังทรงเป็นคฤหัสถ์
เมื่อมหาบุรุษทรงออกผนวชบำเพ็ญพรต
จะมีพระสาวกมากกว่านั้น
ล้วนแต่ดำเนินตามพระพุทธพจน์
ลักษณะนั้นย่อมบ่งบอกถึงพระคุยหฐาน
ที่เร้นอยู่ในฝักของมหาบุรุษ
ไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์ หรือบรรพชิต”

ภาณวารที่ 1 จบ

15-16. ลักษณะพระวรกายเป็นปริมณฑลดุจปริมณฑลแห่งต้นไทร
และเมื่อประทับยืนไม่ต้องน้อมพระองค์ลงก็ลูบคลำถึงพระชานุ
ด้วยฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองได้1

[222] ภิกษุทั้งหลาย ในชาติก่อน ภพก่อน กำเนิดก่อน ตถาคตเกิดเป็น
มนุษย์เมื่อตรวจดูมหาชนที่ควรสงเคราะห์ ย่อมรู้จักชนที่เท่าเทียมกัน รู้จักตนเอง
รู้จักฐานะของบุคคล รู้จักความแตกต่างของบุคคล หยั่งทราบว่าบุคคลนี้ควรกับสิ่งนี้

เชิงอรรถ :
1 เป็นลักษณะมหาบุรุษข้อที่ 19,9

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :180 }